บทความ

บทที่ 5 "สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ"

  บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากการทดลอง พบว่า ไฟสีม่วงสามารถเพิ่มจำนวนยุงจากการล่อได้ และที่สำคัญคือ ในแต่ละพื้นที่มีจำนวนประชากรยุงไม่เท่ากัน 5.1 สรุปผล        5.1.1   อุปกรณ์สามารถใช้งานได้จริง        5.1.2   ไฟสีม่วงสามารถใช้ล่อยุงได้มากกว่าเพาเวอร์ซัพพลายธรรมดาประมาณ 1.5 เท่า 5.2   ข้อเสนอแนะ        5.2.1   ควรนำอุปกรณ์ไปลองในหลายๆ สถานที่เพื่อทดสอบว่า สถานที่อื่นก็สามารถใช้ได้จริง        5.2.2  การใช้ไฟล่อยุง มีสีอื่นหรือสิ่งอื่นที่ล่อได้ดีกว่าไฟสีม่วงหรือไม่

บทที่ 4 "ผลการทดลอง"

  บทที่ 4 ผลการทดลอง           ในการทดลอง ผู้ทดลองได้ออกแบบการทดลองออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกคือล่อด้วยเพาเวอร์ซัพพลายธรรมดา ชุดที่สองจะเพิ่มไฟสีม่วงเข้าไป เพื่อเปรียบเทียบว่า ไฟสีม่วงสามารถช่วยล่อยุงได้เพิ่มมากขึ้นหรือไม   ตารางที่1 ผลการทดลองของอุปกรณ์ในเวลา 3 ชั่วโมง เวลา / ตัวล่อ เพาเวอร์ซัพพลาย เพาเวอร์ซัพพลายและไฟสีม่วง 1 ชั่วโมง 5 ตัว 8 ตัว 2 ชั่วโมง 13 ตัว 20 ตัว 3 ชั่วโมง 17 ตัว 26 ตัว รวม 35 ตัว 54 ตัว      

บทที่ 3 "วิธีการดำเนินการ"

  บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ      การทำให้โครงงานจะต้องมีวิธีการดำเนินงานและวัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งที่มีในการทดลองหรือในการทำโครงงานชิ้นนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.1 วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือชนิดพิเศษ       3.1.1   วัสดุอุปกรณ์                ใบพัดจากเพาเวอร์ซัพพลาย                ขวดพลาสติก                หลอดไฟสีม่วง 3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน       3.2.1 เตรียมขวดพลาสติกที่จะใช้ในการดักยุง       3.2.2 ฝาถังเจาะใส่เพาเวอร์ซัพพลาย       3.2.3 ใส่ไฟสีม่วงบริเวณรอบๆ   เหนือเพาเวอร์ซัพพลายเล็กน้อย เพื่อใช้เป็นตัวล่อยุง      

บทที่ 2 "เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง"

  บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง      ในปัจจุบัน ยุงเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดที่อันตราย 2.1 ยุง     2.1.1   ยุง คืออะไร              ยุง เป็นแมลง 2 ปีก หนวดยาวมีจำนวน 13 ปล้อง เส้นปี และขอบปีกด้านท้าย ( posterior margin of wing ) ปกคลุมด้วยเกร็ด ( scales ) ปากเป็น proboscis ยาว      2.1.2   วงจรชีวิตของยุง               วงจรชีวิตยุงประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่               1. ตัวเต็มวัย   ( adult/imago)                  ยุงตัวเต็มวัยที่ฟักออกจากดักแด้จะเอาส่วนหัวออกจากรอยแตกด้านหลังของ cephalothorax ใช้เวลาการฟักเพียง 2-3 ชั่วโมง เมื่อออกจากคราบแล้วจะพักตัวชั่วครู่ให้ปีกแห้ง แล้วจึงบิน โดยยุงตัวเมียที่ฟักตัวแล้วจะกินเลือดภายใน 24 ชั่วโมง                2. ไข่ยุง ( egg )                   ยุง อาจวางทีละฟอง ( Aedes และ Anopheles) เป็นแพ หรือ raft ( Culex, Coquilletidia และ Culiseta ) เป็นกลุ่มคล้ายดอกไม้ cluster ( Mansonia ) จำนวนไข่แต่ละครั้ง 51-150 ฟอง จำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาด และชนิดของเลือดที่กิน                     ตลอดชีวิตของยุงจะออกไข่หลายครั้ง ภายใน 2-4

บทที่ 1 "บทนำ"

  บทที่ 1 บทนำ 1.1    ที่มาและความสำคัญ      ในทุกๆ ปีจะมีคนมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากยุงที่เป็นพาหะนำโรค และมีอีกหลายร้อยล้านที่ต้องเจ็บป่วยจากยุงพวกนี้         ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2556-2561 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมกว่า 542 , 827 ราย และ เสียชีวิตกว่า 550 ราย ดังนั้น พวกเราจึงคิดอยากกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค เพื่อเป็นการลดจำนวนประชากรยุง 1.2   วัตถุประสงค์ 1.2.1               เพื่อกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรคชนิดต่างๆ 1.2.2          เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ดักยุงจากวัสดุเหลือใช้ 1.2.3           เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดักยุง 1.2.4    เพื่อศึกษาแสงของสีที่สามารถล่อยุงได้มีประสิทธิภาพสูงสุด 1.3   ขอบเขตของการศึกษา ยุงที่พบภายในประเทศไทย คือ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน ณ บริเวณบ้านและบริเวณที่มีน้ำขัง 1.4   สมมติฐาน   1.4.1   เครื่องดักยุงสามารถใช้ได้จริง   1.4.2   ยุงไม่สามารถออกจากเครื่องดักยุงได้   1.4.3   ไฟสีม่วงสามารถล่อยุงได้มากกว่าพาวเวอร์ซัพพลายธรรมดา 1.5    ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ เครื่องดักยุง แสงสีที่ใช้ล่อยุง ตัวแปรตาม คือ จำนวนยุ

กิตติกรรมประกาศ

  กิตติกรรมประกาศ           โครงงานเรื่องนี้ประกอบด้วยการดำเนินงานหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การศึกษาหาข้อมูล  การทดลอง การวิเคราะห์ผลการทดลอง การจัดทำโครงงานเป็นรูปเล่ม จนกระทั่งโครงงานนี้สำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวคณะผู้จัดทำโครงงานได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำ ในด้านต่างๆ ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคคลหลายท่าน คณะผู้จัดทำตระหนักและซาบซึ้งในความ กรุณาจากทุกๆท่านเป็นอย่างยิ่ง ณ โอกาสนี้ ขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ดังนี้           กราบขอบพระคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย นายบรรจง ศรีประเสริฐ ที่ให้ความอนุเคราะห์ และให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อาจารย์นิภาภรณ์   จันทะโยธา อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนปิยะมหาราชาลัยทุกคนที่คอยดูแลเอาใจใส่และให้คำปรึกษาอย่างดี           ขอขอบคุณ เพื่อนๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการทำโครงงาน           ท้ายที่สุด ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อและคุณแม่ ผู้เป็นที่รัก ผู้ให้กำลังใจและให้โอกาสการศึกษาอันมีค่ายิ่ง คณะผู้จัดทำ