บทที่ 1 "บทนำ"

 

บทที่ 1

บทนำ

1.1   ที่มาและความสำคัญ

     ในทุกๆ ปีจะมีคนมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากยุงที่เป็นพาหะนำโรค และมีอีกหลายร้อยล้านที่ต้องเจ็บป่วยจากยุงพวกนี้

        ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2556-2561 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมกว่า 542,827 ราย และ เสียชีวิตกว่า 550 ราย ดังนั้น พวกเราจึงคิดอยากกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค เพื่อเป็นการลดจำนวนประชากรยุง

1.2  วัตถุประสงค์

1.2.1             เพื่อกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรคชนิดต่างๆ

1.2.2         เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ดักยุงจากวัสดุเหลือใช้

1.2.3         เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดักยุง

1.2.4    เพื่อศึกษาแสงของสีที่สามารถล่อยุงได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

1.3  ขอบเขตของการศึกษา

ยุงที่พบภายในประเทศไทย คือ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน ณ บริเวณบ้านและบริเวณที่มีน้ำขัง

1.4  สมมติฐาน

 1.4.1  เครื่องดักยุงสามารถใช้ได้จริง

 1.4.2  ยุงไม่สามารถออกจากเครื่องดักยุงได้

 1.4.3  ไฟสีม่วงสามารถล่อยุงได้มากกว่าพาวเวอร์ซัพพลายธรรมดา

1.5   ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น คือ เครื่องดักยุง แสงสีที่ใช้ล่อยุง

ตัวแปรตาม คือ จำนวนยุงที่สามารถดักได้

ตัวแปรควบคุม คือ เวลา สภาพอากาศ บริเวณที่ดักยุง

1.6   นิยามเชิงปฏิบัติการ   

ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ลูกน้ำมักจะกินจำพวก แบคทีเรีย โปรโตซัว ยีสต์ สาหร่าย และพืชน้ำที่มีขนาดเล็กยุงตัวเมียกินน้ำหวานและเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานจากดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดี คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes)

ยุงก้นปล่อง หรือ Anopheles เป็นสกุลของยุงที่ J. W. Meigen อธิบายและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1818 สัตว์สกุลนี้ได้รับการยอมรับแล้วประมาณ 460 สปีชีส์ แม้มียุงกว่า 100 สปีชีส์ที่สามารถส่งผ่านโรคมาลาเรียในมนุษย์ได้ แต่มี 30–40 ชนิดที่ส่งผ่านปรสิตสกุล Plasmodium บ่อย ซึ่งก่อโรคมาลาเรียในมนุษย์ในพื้นที่ระบาด Anopheles gambiae เป็นยุงชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดีที่สุด เพราะบทบาทเด่นในการส่งผ่านปรสิตมาลาเรียสปีชีส์ที่อันตรายที่สุดมายังมนุษย์ คือ Plasmodium falciparum

ยุงลาย หรือ Edes เป็นสกุลของยุงที่เดิมพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ปัจจุบันพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้ยุงลายบางสปีชีส์แพร่กระจาย Meigen อธิบายและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1818 ยุงในสกุลนี้มีกว่า 700 สปีชีส์ ยุงลายบางสปีชีส์ส่งผ่านโรคร้ายแรง รวมถึงไข้เด็งกีและไข้เหลือง แถมตอนนี้ ยุงลายยังเป็นพาหะของ ไข้ซิกา อีกด้วย

พาหะ หมายถึง คนหรือสัตว์ที่มีเชื้อก่อโรคชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ในร่างกาย โดยไม่ปรากฏอาการของโรคนั้น ๆ แต่สามารถถ่ายโอนหรือกระจายเชื้อก่อโรคนั้นไปสู่ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นได้ เช่น ยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก  แมลงวันเป็นพาหะของอหิวาตกโรค


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 5 "สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ"

บทที่ 3 "วิธีการดำเนินการ"