บทที่ 2 "เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง"

 

บทที่2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     ในปัจจุบัน ยุงเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดที่อันตราย

2.1 ยุง

    2.1.1  ยุง คืออะไร

             ยุง เป็นแมลง 2 ปีก หนวดยาวมีจำนวน 13 ปล้อง เส้นปี และขอบปีกด้านท้าย ( posterior margin of wing ) ปกคลุมด้วยเกร็ด ( scales ) ปากเป็น proboscis ยาว

     2.1.2  วงจรชีวิตของยุง

              วงจรชีวิตยุงประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่
              1. ตัวเต็มวัย ( adult/imago)
                 ยุงตัวเต็มวัยที่ฟักออกจากดักแด้จะเอาส่วนหัวออกจากรอยแตกด้านหลังของ cephalothorax ใช้เวลาการฟักเพียง 2-3 ชั่วโมง เมื่อออกจากคราบแล้วจะพักตัวชั่วครู่ให้ปีกแห้ง แล้วจึงบิน โดยยุงตัวเมียที่ฟักตัวแล้วจะกินเลือดภายใน 24 ชั่วโมง

              2. ไข่ยุง ( egg )
                  ยุง อาจวางทีละฟอง ( Aedes และ Anopheles) เป็นแพ หรือ raft ( Culex, Coquilletidia และ Culiseta ) เป็นกลุ่มคล้ายดอกไม้ cluster ( Mansonia ) จำนวนไข่แต่ละครั้ง 51-150 ฟอง จำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาด และชนิดของเลือดที่กิน

                   ตลอดชีวิตของยุงจะออกไข่หลายครั้ง ภายใน 2-4 วัน ไข่ของ Anopheles, Culex และ Mansonia เมื่อถึงเวลา ถ้าไม่แช่น้ำ ตัวลูกน้ำภายในไข่จะตาย แต่ไข่ของยุงลาย ตัวอ่อนภายในจะไม่ตาย อยู่ได้เป็นปี เมื่อนำมาแช่น้ำจะฟักตัวเป็นลูกน้ำได้ ยุงในเขตหนาวออกไข่ 1 ครั้ง ไข่จะฟักตัวเมื่อหิมะละลาย โดยในเขตร้อนบริเวณน้ำท่วม เมื่อยุงออกไข่แล้วจะฟักตัวไม่พร้อมกัน โดยส่วนมากไข่จะฟักตัวในคราวน้ำท่วมครั้งแรก แต่ไข่บางฟองจะฟักตัวในคราวน้ำท่วมครั้งต่อไป

               3. ลูกน้ำ ( larva/wrigglers )
                  ลูกน้ำมี 4 ระยะ จากการลอกคราบ ( moult, cast, pelt ) 4 ครั้ง กลายเป็นดักแด้ ไม่กินอาหาร ใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ อาหาร และชนิดของยุง โดยลูกน้ำหายใจเอาอากาศเข้าทางรูเปิดที่ท่อปากดูด (siphon) แต่บางชนิดหายใจทางผิวหนัง

                  ลูกน้ำยุงเสือใช้ท่อปากดูดเจาะในรากพืชดึงเอาออกซิเจนจากพืชมาใช้ สำหรับ gill ไม่ใช้หายใจ แต่ใช้บังคับ แรงดันของตัวลูกน้ำ โดยเป็นตัวดูด chloride เข้าออก ดังนั้น ยุงน้ำกร่อยจะมีเหงือกใหญ่

               4. ดักแด้ ( pupa/tumblers )
                  ดักแด้ประกอบด้วยส่วน cephalothorax และ abdomen มี paddle ท่อหายใจอยู่บริเวณอก ไม่กินอาหาร ใช้เวลา 2-3 วัน กลายเป็นตัวเต็มวัย

     2.1.3  อายุขัยของยุง ( Longevity )
             ตามปกติยุงตัวผู้มีอายุ 6-7 วัน แต่ถ้าให้อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอ และมีความชื้นสูงจะชีวิตได้นาน 30 วัน ยุงตัวเมียอาจมีชีวิตได้ 4-5 เดือน โดยเฉพาะถ้าจำศีล (hibermation ) โดยยุง Aedes sticticus Meigen มีชีวิตได้ถึง 104 วัน และ Aedes vexans Meigen มีชีวิตได้ถึง 113 วัน

     2.1.4  ลักษณะนิสัย
              แหล่งเพาะพันธุ์ แบ่งได้ ดังนี้
              1. น้ำไหล ได้แก่ ยุงก้นปล่อง Anopheles minimus อยู่บริเวณริมลำธาร มีน้ำไหลเอื่อย มีต้นหญ้าขึ้น
              2. น้ำนิ่ง
                 มีน้ำถาวร ได้แก่ ยุงก้นปล่อง และยุง Culicine พวกที่ไม่ใช่ Aedes
                 มีน้ำอยู่ชั่วคราว ได้แก่ ยุง Aedes
                 น้ำในรูปู แอ่งหิน บ่อ น้ำซับ ได้แก่ Culicine และ Anopheline
              3. น้ำในภาชนะรับน้ำจากคนทำขึ้น โพรงไม้ กระบอกไม้ไผ่ โคนก้านกล้วย หรือสับปะรด หรือต้น Abacca ที่เก็บน้ำระหว่างต้นกับก้าน (axil) หม้อข้าวหม้อแกงลิง (pitcher) กลีบดอกไม้ bract, spathes ใบไม้ร่วง กะลามะพร้าว เปลือกหอย ถ้วย กระป๋อง ยางรถยนต์เก่า โอ่งน้ำ ยุงพวกนี้ ได้แก่ Toxorhynchites, Anopheles subgenus, Kerteszia, Sabethine และยุง Aedes

แหล่งเพาะพันธุ์ยุง Aedes aegypti ไข่ในน้ำสะอาดในภาชนะ, ยุง Culex quinquefasciatus วางไข่ ในน้ำเน่ามีอินทรีย์สูง, ยุง Mansonia ไข่บนพืชน้ำ เช่น จอกหูหนู แหน ผักตบชวา, ยุง Anopheles minimus ไข่ในลำธารมีน้ำไหลเอื่อยๆ ตรงบริเวณที่มีต้นหญ้าอยู่, ยุง Anopheles sundaicus เพาะพันธุ์ในน้ำกร่อย และ ยุง Aedes australis และ Aedes detritus พบในน้ำทะเล

     2.1.5  การหาอาหาร
             ยุงตัวผู้ และยุงตัวเมีย กินน้ำหวานจากพืช ส่วนใหญ่เป็นดอกไม้หรือน้ำผึ้งเพื่อใช้สร้างพลังงาน ส่วนยุง Malaya jacobsoni มีวิวัฒนาการมากขึ้น โดยอาศัยอาหารจากปากมด Crematagaster ซึ่งหากินอยู่ตามหน่อไม้ไผ่ ยุงพวกนี้ จะคอยอยู่ตามเส้นทางที่มดจะเดินกลับลงมาแล้วใช้ proboscis ยื่นเข้าไปดูดอาหารจากปากมด

             ยุงตัวเมียโดยทั่วไปต้องกินเลือด เนื่องจาก โปรตีนในเลือดมีความสำคัญในการสร้างไข่ และใช้เป็นพลังงานเลือดนี้ได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือ สัตว์เลื้อยคลาน ยุงบางพวกไม่กินเลือดก็ออกไข่ได้ เนื่องจาก มีการใช้อาหารที่สะสมไว้ในตัวในการสร้างไข่รุ่นแรก ยุงพวกนี้ เรียกมี autogeny เช่น ยุง Culex molestus ยุง Aedes togoi ในมาเลเซีย และไทย

             ยุงกินเลือดมากกว่าน้ำหนักตัว 1- 1.5 เท่า น้ำที่เป็นองค์ประกอบในเลือดจะถูกกำจัดออก โดยยุง Aedes aegypti จะขับน้ำออกมาทางก้นภายใน 5-15 นาที ประมาณ 1.5 ลูกบาศก์มิลลิลิตร หรือ 2-3 หยด แรกๆเป็นกรดยูริก และต่อมาเป็นนินอดรินปฏิกิริยาบวก นอกจากนั้น เป็นเม็ดเลือดแดง สิ่งที่ขับถ่ายนี้มาจาก Malpighian tubules ส่วนยุงก้นปล่อง จะมีเลือดออกจากก้นเลย ปริมาณเลือดที่กินเมื่อคำนวณโดยใช้สารรังสีไอโซโทป Cerium ใส่ปนไปในอาหารของยุง Aedes aegypti ได้ค่าเฉลี่ย 4.2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร เพิ่มจากคำนวณตามปกติ 2.5-2.7 ลูกบาศก์มิลลิเมตร และมีของเหลวถูกขับออก 1.5 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ส่วนยุง Culex quiquefasciatus กินเลือดไก่ได้ 10.2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ทั้งนี้ อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตถูกย่อยใน diverticula ส่วนโปรตีนถูกย่อยใน mid gut

             ยุงกินเลือดคนเรียกเป็น anthropophilic ถ้ากินเลือดสัตว์เรียก zoophilic ยุงที่มีนิสัยกัดคนในบ้านเรียก endophagic ถ้ากัดคน และสัตว์นอกบ้านเรียก exophagic ยุงที่กัดในบ้านหลังกินเลือดแล้วบางชนิดก็พักอยู่ในบ้าน (resting) เพื่อรอให้ไข่สุกแล้วจึงบินออกวางไข่ พวกนี้เรียก endophilic ส่วนยุงที่กัดนอกบ้านจะเกาะพักบริเวณนอกบ้านตามใบไม้ ใบหญ้า พงไม้ หรือตามรอยดินแยก เรียกยุงพวกนี้ว่า exophilic ส่วนยุงลาย aegypti ชอบกินเลือดคนก็มีวิวัฒนาการปรับนิสัยเข้ามาอยู่อาศัยใกล้ชิดกับคน วางไข่ในภาชนะต่างๆที่มีน้ำขัง ซึ่งส่วนมากเป็นภาชนะที่มีใช้กันตามบ้านที่อยู่อาศัย และบริเวณรอบรอบบ้าน

     2.1.6  การวางไข่
              ยุงลายออกไข่มากน้อยเป็นจังหวะใน 24 ชั่วโมง (thythmical oviposition) โดยอาศัยจังหวะที่แสงลดน้อยลงในตอนเย็น โดยในวันที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน และกลางวันสั้นกว่ากลางคืน ถ้ามีแสงตลอดจะออกไข่ไม่เป็น cycle แต่ถ้ามืดตลอดจะออกไข่เป็น cycle แสดงว่ามี endogenous cycle เมื่อถูกแสงครั้งหนึ่ง

 

2.2  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

      2.2.1  เครื่องดักยุงแบบพอเพียง

               การศึกษา เครื่องดักยุงแบบพอเพียง มีวัตถุประสงค์คือ ประดิษฐ์เครื่องดักยุงแบบพอเพียงและทดสอบ ประสิทธิภาพในการดักยุง โดยมีวิธีการดำเนินการคือ มีการออกแบบโครงสร้างเครื่องดักยุงแบบพอเพียง แล้ว นำท่อ PVC มาตัดเป็นท่อนและประกอบเป็นโครงสร้าง จากนั้นนำพัดลมดูดอากาศมาติดในส่วนของชั้นที่ 2 ของโครงสร้าง น าหลอดไฟมาติดด้านบนสุดของโครงสร้างและพันหลอดไฟด้วยกระดาษแก้ว และนำผ้ามุ้งมา เย็บตามขนาดของโครงสร้างที่ทำไว้แล้วนำมาติดในส่วนของชั้นที่ 2 ท าการต่อไฟและพัดลมดูดอากาศเข้ากับ มอเตอร์จึงได้เครื่องดักยุงแบบพอเพียง ผลการศึกษา พบว่า เครื่องดักยุงแบบพอเพียงเป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยใช้หลักพลังงานความร้อน จากหลอดไฟฟ้ามาเป็นตัวล่อยุงเปรียบเสมือนอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เมื่อยุงได้สัมผัสกับพลังงานความร้อน ที่แผ่กระจายจากหลอดไฟ จึงทำให้ยุงบินเข้ามาเพราะคิดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารและด้วยหลักการของมวล ร่างกายของยุงมีน้อยจึงทำให้ถูกดูดด้วยพัดลมดูดอากาศลงไปในถุงดักยุงได้ง่าย จากการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องดักยุงแบบพอเพียงพบว่า ในชั่วโมงแรก ดักจับยุงได้ 3 ตัว ใน ชั่วโมงที่สองดักจับยุงได้ 17 ตัว และในชั่วโมงที่สามดักจับยุงได้ 32 ตัว โดยเปลี่ยนสถานที่ทำการทดสอบ ประสิทธิภาพในแต่ละชั่วโมง ทำให้สรุปได้ว่า ในแต่ละชั่วโมงที่จำนวนยุงที่แตกต่างกันนั้นมีสาเหตุมาจาก สถานที่ที่แตกต่างกัน

      2.2.2  ตะกร้าดักยุง

               ตะกร้าดักยุงมีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์ตะกร้าดักยุงและเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของตะกร้าดักยุงโดยการน าตะกร้าไปวางไว้ตามสถานที่บริเวณป่า ที่โล่งแจ้งและที่ห้องนั่งเล่นจากนั้น นำมานับจำนวนยุงจากการไปทดลองตามสถานที่ดังกล่าวพบว่าที่

              - บริเวณป่า ตั้งแต่เวลา 18.30 น. – 19.00 น. จะพบว่ามียุง 64 ตัว

              - ห้องนั่งเล่น ตั้งแต่เวลา 19.00 น. – 19.30 น. จะพบว่ามียุง 4 ตัว

              - ที่โล่งแจ้ง ตั้งแต่เวลา 19.30 น. - 20.00 น. จะพบว่ามียุง 12 ตัว สรุปได้ว่าตะกร้าดักยุงจะสามารถดักยุงบริเวณป่าได้มากกว่าสถานที่อื่น

      2.2.3  เครื่องดักจับยุง

               โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เครื่องดักจับยุง  ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ดักจับยุงที่เป็นพาหะของโรค โรคที่มียุงเป็นพาหะและเป็นอันตราถึงแก่ชีวิตได้ที่สามารถกำจัดยุงได้ปริมาณมาก กว่าอุปกรณ์ที่วางขายตามท้องตลาดที่เรียกว่า ไม้ตียุง และไม่เป็นอัตราเหมือนกับการใช้ยาจุดและยาฉีดกันยุง ซึ่งการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องดักจับยุงที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเกิดจากการดัดแปลงมาจากไม้ตียุงที่มีขายตามท้องตลาด โดยนำหลอด แบล็คไลท์ (Black light) ที่มีคุณสมบัติเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งให้แสงสีม่วงสำหรับล่อยุง และได้มีการศึกษาการทำงานของไม้ตียุงที่มีขายในปัจจุบัน และศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องดักจับยุงกับไม้ตียุง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 1 "บทนำ"

บทที่ 5 "สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ"

บทที่ 3 "วิธีการดำเนินการ"